แผนที่ของสมอง
แผนที่ของสมอง (The Map of The Brain)
โดยทั่วไปอวัยวะทุกส่วนในร่างกายมีหน้าที่การทำงานที่เด่นชัด และส่วนใหญ่ก็ทำงานเฉพาะด้านใดด้านหนึ่ง มีเพียงส่วนน้อยเท่านั้นที่อวัยวะหนึ่งๆอวัยวะใดจะทำหน้าที่หลายอย่าง เช่น หัวใจก็เป็นที่แน่นอนว่าทำหน้าที่ปั๊มโลหิตอย่างไม่ต้องสงสัย ปอดก็ทำเพียงสูดลมหายใจเข้าออก แต่สมองเป็นอวัยวะที่ดูว่าน่าจะทำหน้าที่หลายอย่างกับหลายอวัยวะ
ลักษณะทางกายภาพขนาดของสมอง สมองมีน้ำหนักเพียง 3 ปอนด์ มีลักษณะเป็นก้อนเนื่อเยื่อที่เป็นร่องๆ ไม่มีส่วนใดที่เคลื่อนไหวได้ ไม่มีรอยต่อหรือลิ้น(อย่างในเส้นเลือด) ไม่เพียงแต่ทำหน้าที่เป็นศูนย์กลางในการควบคุมระบบต่างๆของร่างกาย แต่มันเป็นเหมือนกับเราได้นั่งอยู่ในจิตใจ ความคิด ความรู้สึกสัมผัส เป็นทุกสิ่งๆทุกอย่าง ที่กล่าวว่าเรามีตับ เรามีแขนขา แต่สมองคือตัวของเรา
แนวโน้มความสนใจส่วนใหญ่ของการศึกษาค้นคว้าเรื่องนี้ มุ่งทิศทางการศึกษาเพื่อพิสูจน์ว่า เรื่องมากมายๆต่างของจิตใจเกี่ยวข้องกับสมอง เช่น มีการพิสูจน์วัดปริมาตรของสมอง โดยยุคแรกๆนั้นเป็นการวัดขนาดสมองโดยใช้วิธีของ เอ็ม ซี เอ็ชเชอร์ คือการให้มือทั้งสองมาวาดภาพต่อกัน แต่พอถึงศตวรรษที่ 19 วิธีการดังกล่าวก็เลิกใช้ เมื่อมีการเปิดเผยทฤษฎีของนักฟิสิกซ์ชาวเยอรมันที่ชือ ฟรานซ์ โจเซฟ กอลล์ เขาประสบความสำเร็จอย่างงดงามในการเปิดเผยองค์ความรู้เรื่อง การศึกษาลักษณะจิตใจจากการวัดกะโหลกศีรษะ หรือที่รู้จักกันในชื่อว่า "Phrenology" ในตอนที่เรื่องนี้ถูกเปิดเผยใหม่ๆนั้นก็เป็นที่ตื่นตัวและมีการศึกษาเรื่องนี้กันอย่างกว้างขวางทั้งในอังกฤษและสหรัฐมากเลยทีเดียว ทิศทางการศึกษาจิตใจและสมองก็เริ่มเป็นรูปเป็นร่างชัดเจน ขณะเดียวกันก็ต่อยอดแสดงให้เห็นทิศทางที่เริ่มมีความเป็นวิทยาศาสตร์มากขึ้นเรื่อยๆ ถึงแม้การศึกษาเรื่องนี้ใหม่ๆหลังการเปิดเผยทฤษฎีดังกล่าวจะมีนักวิชาการบางท่านกล่าวว่าศาสตร์ในเรื่องนี้มีความเป็นวิทยาศาสตร์เทียมอยู่บ้างก็ตาม
ฟรีโนโลยี (Phrenology)
Phrenology มาจากภาษากรีก ที่แปลว่า จิตใจ “mind” และ ความรู้ “logos” รวมแล้วคงเป็น ความรู้ด้านจิตใจ เป็นแนวคิดทางทฤษฏีที่ได้พยายามอธิบายลักษณะเฉพาะของบุคลิกภาพที่ซ่อนอยู่ และลักษณะของความเป็นอาชญภาพบนพื้นฐานของลักษณะสรีระพื้นฐานของกระโหลกศีรษะ ถูกพัฒนาและค้นพบโดยนักฟิสิกข์ชาวเยอรมันชื่อ ฟรานซ์ โจเซฟ กอลล์ ระหว่างปี 1758-1828 เขาถือเป็นบิดาของศาสตร์ด้านฟรีโนโลยี แนวคิดนี้เป็นที่ฮือฮาและโด่งมากในศตวรรษที่ 19 (ปี 1843) ฟรานคอยซ์ แมกเจนได ได้ศึกษาต่อมาโดยกล่าวว่าการศึกษาดังกล่าวถือเป็นการศึกษาในลักษณะของ วิทยาศาสตร์เทียม อย่างไรก็ตาม phrenology ในสมัยศตวรรษที่ 19 นั้นเป็นการรวมศาสตร์ทางด้าน จิตเวชศาสตร์กับประสาทวิทยา รวมกัน ถือเป็นแนวคิดพื้นฐานที่ว่าสมองเป็นอวัยวะหนึ่งของจิตใจ และแน่นอนบริเวณสมองมีหน้าที่เฉพาะ phrenologists มีความเชื่อว่าสมอง (และลักษณะกะโหลกศีรษะ) ถูกกำหนดให้จิตใจของมนุษย์เรามีความแตกต่างกัน โดยแต่ละส่วนก็มีลักษณะทางกายภาพแตกต่างกันด้วย
Phrenology ให้ความสำคัญในการศึกษา ลักษณะเฉพาะและบุคลิกภาพ โดยเน้นถึงการวัดและศึกษาขนาดของกะโหลกศีรษะ น้ำหนัก และรูปร่าง และรวมถึงลักษณะใบหน้าของบุคคลด้วย อย่างไรก็ตามการศึกษาในเรื่องนี้ยังได้โยงเรื่องบุคลิกภาพแฝงและสติปัญญา ที่บางคนถือว่ามีความเป็นใกล้วิทยาศาสตร์มากกว่าการอธิบายด้วยวิธีอื่นๆ
ในต้นศตวรรษที่ 20 ความตื่นตัวในทฤษฎี Phrenology เป็นตัวกระตุ้นให้มีการศึกษากันอย่างกว้างขวางของวิชาอาชญวิทยา และมานุษยวิทยา การศึกษาส่วนใหญ่เกิดขึ้นในช่วงนี้และที่โด่งดังมากคือ ผลงานของจิตแพทย์ชาวเมืองลอนดอลที่ชื่อ เบอร์นาร์ด ฮอลแลนเดอร์ (ระหว่างปี 1864-1934) การศึกษาของเขามุ่งเน้นไปที่เรื่องของการทำงานของจิตใจถูกกำหนดโดยสมอง (ปี 1901) และการศึกษาจิตใจจากกะโหลกศรีษะมีความเป็นวิทยาศาสตร์มากขึ้น (ปี 1902) โดยเขาได้รวมเอาแนวการศึกษาของกอลล์มาด้วย ฮอลแลนด์เดอร์ได้เสนอว่าการวินิจฉัยในเรื่องนี้จะต้องศึกษาเกี่ยวกับกฎเกณฑ์การวัดกระโหลกศรีษะที่ยึดหลักทางสถิติด้วย
นักวิทยาศาสตร์สมัยใหม่ได้ศึกษาไปไกลกว่านั้น มีการศึกษาจนสามารถบอกรายละเอียดของสมองได้หลากหลายมุมมอง สามารถบอกได้ว่าในสมองนั้นประกอบไปด้วยหลายส่วน และมีชื่อเฉพาะ เช่น ไฮโปธาลามัส , caudate nucleus, neocortex เป็นต้น นอกจากนี้ยังศึกษาลึกเชื่อมโยงลงไปได้อีกถึงหน้าที่การทำงานของแต่ละส่วนที่มีความแตกต่างกัน ขณะเดียวกันก็มีการทำงานเชื่อมโชงกันอย่างน่าอัศจรรย์อีกด้วย ที่สำคัญมีรายงานการศึกษาเชิงวิจัยที่สามารถชี้ได้ว่า นี่คือความสามารถเชิงสร้างสรรค์, นี่คืออารมณ์ นี่คือเสียงพูด อีกหลายอย่าง ที่เป็นนี่และนี่และนี่ จนนับไม่ถ้วนในสิ่งที่สมองได้ปฏิบัติจนสร้างความงุนงงให้กับเรา หรือว่านี่จะเป็นเพียงจุดเริ่มต้นเท่านั้นเอง
ขอบเขตที่ศึกษา
วิชาประสาทวิทยาทำให้เราเข้าใจระบบประสาททั้งระบบที่รวมทั้งสมองเข้าไปด้วย จากมุมมองการคาดการณ์ทางวิทยาศาสตร์และชีววิทยา วิชาจิตวิทยาทำให้เราเข้าใจพฤติกรรมและสมอง ศาสตร์สาขาประสาทวิทยาและจิตเวชศาสตร์เป็นสิ่งได้รับการยอมรับว่าสามารถใช้อ้างอิงทางการแพทย์ของศาสตร์ทางด้านประสาทวิทยาและจิตวิทยา องค์ความรู้วิทยาศาสตร์เพื่อรวมเรื่องประสาทวิทยาและจิตวิทยาเข้าด้วยกันกับเรื่องของสมองเป็นสิ่งที่ตอบสนองซึ่งกันและกัน เช่นเดียวกับการอธิบายเรื่องของวิทยาศาสตร์คอมพิวเตอร์กับปรัชญาเข้าไว้ด้วยกัน ฉันใดก็ฉันนั้น
การเปลี่ยนแปลงอย่างช้าๆที่เกิดขึ้นกับวงการวิทยาศาสตร์ในสมัยศตวรรษที่ 21 ความก้าวหน้าในเรื่องเทคโนโลยีได้เปิดสมองให้เห็นเซลล์ประสาท ซึ่งไม่เคยได้รับการยอมรับว่าเป็นเรื่องจริงหรือไม่ก็ใกล้ความเป็นจริงมากที่สุด สมองที่เรารู้จักในปัจจุบันเป็นขุมพลังที่ควบคุมการทำหน้าที่ของอวัยวะต่างๆ อย่างไรก็ตามความไม่ชัดเจนบางอย่างที่เคยถูกมองเพียงว่าเป็นจินตนาการมาถึงบัดนี้ ในอดีตปัญหาภาวะหัวใจขาดเลือดเป็นปัญหาใหญ่ที่ไม่สามารถจะแก้ได้หรือมีทางแก้น้อย แต่ปัจจุบันเราสามารถป้องกันได้
เซลล์ประสาทเฉพาะบางอันที่ถูกค้นพบเป็นเสมือนกับกระจกเงาที่สะท้อนพฤติกรรมของผู้คนรอบๆตัวเรา และช่วยเราในการเรียนรู้ทักษะพื้นฐานบางอย่าง เช่น การเดิน การกิน หรือแม้แต่การเข้าสังคม การมีจริยธรรมของบุคคล แต่ก่อนถือเป็นความลึกลับบางอย่างกำลังจะสลายไป และได้รับการเปิดเผยให้เห็นความเป็นจริง อารมณ์ได้รับการปรุงแต่งผสมผสานกันกับประสบการณ์ที่ได้จากการเรียนรู้ กำลังเป็นที่สนใจเพื่อให้สามารถอ่านจิตใจของผู้คนได้ รวมถึงเรื่องจริยธรรมของบุคคลก็มีการเฝ้าติดตามศึกษาอยู่เช่นกัน
จิตใจและสมอง (Mind and brain)
ในประเด็นของปรัชญาทางด้านจิตใจ เราไม่สามารถแยกระหว่างสมองและจิตใจออกจากกันได้ และบางครั้งยังถูกเหมารวมว่ามีความเกี่ยวข้องกันด้วยซ้ำไป เป็นปัญหาที่ไม่สามารถแยกจากกันได้เหมือนเป็นร่างกายจิตใจ สมองคือสิ่งที่สมารถอธิบายได้โดย ภาคทางกายภาพและชีวภาพที่อยู่ในกะโหลกศีรษะ, ปฎิกิริยาตอบสนองต่างๆ, และเป็นแหล่งรวมของสารชีวเคมี อย่างไรก็ตามคำว่า จิตใจ เป็นภาพหนึ่งของคุณลักษณะทางด้านจิตประสาท เช่น ความเชื่อและความปรารถนา เป็นต้น การศึกษาเรื่องนี้ในบางศาสตร์ก็มองเรื่องของจิตใจเป็นเหมือนกับจิตวิญญาณ (soul)
ในที่สุดของเรื่องนี้ เราได้เรียนรู้บางสิ่งบางอย่างด้านสติความสำนึกในตัวเอง เป็นสิ่งที่พระเจ้าได้มอบความเป็นธรรมชาติที่จะให้เรารู้ สัมผัส กับบางสิ่งบางอย่างที่อยู่รอบตัวเรา เป็นเหมือนกับว่าเราได้จ้องมองโลกภายนอกจากห้องควบคุมที่อยู่เบื้องหลังดวงตาเรานั่นเอง ถ้าเราสามารถแยกแยะออกว่านี่เป็นแก่นของความรู้ เราก็จะสามารถควบคุมทุกสิ่งทุกอย่างได้ แต่เราต้องไม่หลบลี้หนีหน้า เราควรจะซึมซับเข้ามาเป็นส่วนหนึ่งของเราให้ได้ต่างหาก ความเป็นมนุษย์มักจะไม่พอเพียงสำหรับคำถามที่บางทีก็ไม่มีความจำเป็นที่จะต้องตอบ สุดท้ายแล้วก็พยายามไขว่คว้าเพื่อหาในสิ่งที่เราไม่รู้เพื่อจะใช้เป็นแนวทางในการศึกษาให้รู้อย่างช้าๆก็ได้
เข้าชม : 2295
|