[x] ปิดหน้าต่างนี้
 
 
ยุทธศาสตร์ และแผนปฏิบัติการ

จุดเน้นการดำเนินงาน กศน. ตามยุทธศาสตร์กระทรวงศึกษาธิการ  6 ยุทธศาสตร์

นโยบายเร่งด่วนเพื่อร่วมขับเคลื่อนยุทธศาสตร์การพัฒนาประเทศ

1.ยุทธศาสตร์ด้านความมันคง

1.1 พัฒนาและเสริมสร้างความจงรักภักดีต่อสถาบันหลักของชาติ โดยปลูกฝังและ

สร้างความตระหนักรู้ถึงความสำคัญของสถาบันหลักของชาติ รณรงค์เสริมสร้างความรักและความภาคภูมิใจ

ในความเป็นคนไทยและชาติไทย น้อมนำและเผยแพร่ศาสตร์พระราชา หลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง

รวมถึงแนวทางพระราชดำริต่าง ๆ

1.2 เสริมสร้างความรู้ความเข้าใจที่ถูกต้อง และการมีส่วนร่วมอย่างถูกต้องกับการปกครอง

ระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข ในบริบทของไทย มีความเป็นพลเมืองดี ยอมรับ

และเคารพความหลากหลายทางความคิดและอุดมการณ์

1.3 ส่งเสริมและสนับสนุนการจัดการศึกษาเพื่อป้องกันและแก้ไขปัญหาภัยคุกคาม

ในรูปแบบใหม่ ทั้งยาเสพติด การค้ามนุษย์ ภัยจากไซเบอร์ ภัยพิบัติจากธรรมชาติ โรคอุบัติใหม่ ฯลฯ

1.4 ยกระดับคุณภาพการศึกษาและสร้างเสริมโอกาสในการเข้าถึงบริการการศึกษา การพัฒนา

ทักษะ การสร้างอาชีพ และการใช้ชีวิตในสังคมพหุวัฒนธรรม ในเขตพัฒนาพิเศษเฉพาะกิจจังหวัดชายแดน

ภาคใต้ และพื้นที่ชายแดนอื่น ๆ

1.5 สร้างความรู้ ความเข้าใจในขนบธรรมเนียม ประเพณี วัฒนธรรมของประเทศเพื่อนบ้าน

ยอมรับและเคารพในประเพณี วัฒนธรรมของกลุ่มชาติพันธุ์ และชาวต่างชาติที่มีความหลากหลาย ในลักษณะ

พหุสังคมที่อยู่ร่วมกัน

2 ยุทธศาสตร์ด้านการสร้างความสามารถในการแข่งขัน

2.1 เร่งปรับหลักสูตรการจัดการศึกษาอาชีพ กศน. เพื่อยกระดับทักษะด้านอาชีพของประชาชน

ให้เป็นอาชีพที่รองรับอุตสาหกรรมเป้าหมายของประเทศ (First S - curve และ New S-curve) โดยบูรณา

การความร่วมมือในการพัฒนาและเสริมทักษะใหม่ด้านอาชีพ (Upskill & Reskill) รวมถึงมุ่งเน้นสร้างโอกาส

ในการสร้างงาน สร้างรายได้ และตอบสนองต่อความต้องการของตลาดแรงานทั้งภาคอุตสาหกรรมและ

การบริการ โดยเฉพาะในพื้นที่เขตระเบียงเศรษฐกิจ และเขคพัฒนาพิเศษตามภูมิภาคต่าง ๆ ของประเทศ

สำหรับพื้นที่ปกติให้พัฒนาอาชีพที่เน้นการต่อยอดศักยภาพและตามบริบทของพื้นที่

2.2 จัดการศึกษาเพื่อพัฒนาพื้นที่ภาคตะวันออก ยกระดับการศึกษาให้กับประชาชนให้จบ

การศึกษาอย่างน้อยการศึกษาภาคบังคับ สามารถนำคุณวุฒิที่ได้รับไปต่อยอดในการประกอบอาชีพ รวมทั้ง

พัฒนาทักษะในการประกอบอาชีพตามความต้องการของประชาชน สร้างอาชีพ สร้างรายได้ ตอบสนองต่อ

บริบทของสังคมและชุมชน รวมทั้งรองรับการพัฒนาเขตพื้นที่ระเบียบเศรษฐกิจภาคตะวันออก (EEC)

2.3 พัฒนาและส่งเสริมประชาชนเพื่อต่อยอดการผลิตและจำหน่ายสินค้และผลิตภัณฑ์์

ออนไลน์

1) เร่งจัดตั้งศูนย์ให้คำปรึกษาและพัฒนาผลิตภัณฑ์ Brand กศน. เพื่อยกระดับคุณภาพ

ของสินค้และผลิตภัณฑ์ การบริหารจัดการที่ครบวงจร (การผลิต การตลาด การส่งออก และสร้างช่องทาง

จำหน่าย) รวมทั้งส่งเสริมการใช้ประโยชน์จากเทคโนโลยีดิจิทัลในการเผยแพร่และจำหน่ายผลิตภัณฑ์

2) พัฒนาและคัดเลือกสุดยอดสินค้าและลิตภัณฑ์ กศน. ในแต่ละจังหวัด พร้อมทั้งประสาน

ความร่วมมือกับสถานีบริการน้ำมันในการเป็นซ่องทางการจำหน่ายสุดยอดสินค้าและผลิตภัณฑ์ กศน.

ให้กว้างขวางยิ่งขึ้น

3 ยุทธศาสตร์การพัฒนาและเสริมสร้างศักยภาพทรัพยากรมนุษย์

3.1 พัฒนาครูและบุคลากรที่เกี่ยวข้องกับการจัดกิจกรรมและการเรียนรู้ เป็นผู้เชื่อมโยงความรู้กับ

ผู้เรียนและผู้รับบริการ มีความเป็น "ครูมืออาชีพ" มีจิตบริการ มีความรอบรู้และทันต่อการเปลี่ยนแปลงของสังคมและเป็น "ผู้อำนวยการการเรียนรู้" ที่สามารถบริหารจัดการความรู้ กิจกรรม และการเรียนรู้ที่ดี

1) เพิ่มอัตราข้าราชการครูให้กับ กศน. อำเภอทุกแห่ง โดยเร่งดำเนินการเรื่องการหาอัตราตำแหน่ง

การสรรหา บรรจุ และแต่งตั้ง ข้าราชการครู

2) พัฒนาข้าราชการครูในรูปแบบครบวงจร ตามหลักสูตรที่เชื่อมโยงกับวิทยฐานะ

3) พัฒนาครู กศน.ตำบลให้สามารถปฏิบัติงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ โดยเน้นเรื่องการพัฒนา

ทักษะการจัดการเรียนการสอนออนไลน์ ทักษะภาษาต่างประเทศ ทักษะการจัดกระบวนการเรียนรู้

4) พัฒนาศึกษานิเทศก์ ให้สามารถปฏิบัติการนิเทศได้อย่างมีประสิทธิภาพ

5) พัฒนาบุคลากร กศน.ทุกระดับทุกประเภทให้มีทักษะความรู้เรื่องการใช้ประโยชน์จากดิจิทัลและ

ภาษาต่างประเทศที่จำเป็น

3.2 พัฒนาแหล่งเรียนรู้ให้มีบรรยากาศและสภาพแวดล้อมที่เอื้อต่อการเรียนรู้ มีความพร้อม

ในการให้บริการกิจกรรมการศึกษาและการเรียนรู้ เป็นแหล่งสารสนเทศสาธารณะที่งยต่อการเข้าถึง มีบรรยากาศที่เอื้อต่อการเรียนรู้ เป็นคาเพ่พื้นที่การเรียนรู้สำหรับคนทุกช่วงวัย มีสิ่งอำนวยความสะดวก มีบรรยากาศสวยงามมีชีวิต ที่ดึงดูดความสนใจ และมีความปลอดภัยสำหรับผู้ใช้บริการ

1) เร่งยกระดับ กศน.ตำบลนำร่อง 928 แห่ง (อำเภอละ 1 แห่ง) ให้เป็น กศน.ตำบล 5 ดี พรีเมี่ยม

ที่ประกอบด้วย ครูดี สถานที่ดี (ตามบริบทของพื้นที่) กิจกรรมดี เครือข่ายดี และมีนวัตกรรมการเรียนรู้ที่ดีมีประโยชน์

2) จัดให้มีศูนย์การเรียนรู้ต้นแบบ กศน. เพื่อยกระดับการเรียนรู้ ใน 6 ภูมิภาค เป็นพื้นที่การเรียนรู้

(Co - Learning Space) ที่ทันสมัยสำหรับทุกคน มีความพร้อมในการให้บริการต่าง ๆ อาทิ พื้นที่สำหรับการทำงาน/การเรียนรู้ พื้นที่สำหรับกิจกรรมต่าง ๆ มีห้องประชุมขนาดเล็ก รวมทั้งทำงานร่วมกับห้องสมุดประชาชนในการให้บริการในรูปแบบห้องสมุดดิจิทัล บริการอินเทอร์เน็ต สื่อมัลติมีเดีย เพื่อรองรับการเรียนรู้แบบ Active Learning

3) พัฒนาห้องสมุดประชชน "เฉลิมราชกุมารี" ให้เป็น Digital Library โดยให้มีบริการหนังสือ

ในรูปแบบ e - Book บริการคอมพิวเตอร์ และอินเทอร์เน็ตความเร็วสูง รวมทั้ง Free Wifi เพื่อการสืบค้นข้อมูล

3.3 ส่งเสริมการจัดการเรียนรู้ที่ทันสมัยและมีประสิทธิภาพ เอื้อต่อการเรียนรู้สำหรับทุกคน สามารถ

เรียนได้ทุกที่ทุกเวลา มีกิจกรรมที่หลากลาย น่าสนใจ สนองตอบความต้องการของชุมชน เพื่อพัฒนาศักยภาพ

การเรียนรู้ของประชาชน รวมทั้งใช้ประโยชน์จากประชาชนในชุมชนในการร่วมจัดกิจกรรมการเรียนรู้เพื่อเชื่อมโยงความสัมพันธ์ของคนในชุมชนไปสู้การจัดการความรู้ของชุมชนอย่างยั่งยืน

1) ส่งเสริมการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ที่ปลูกฝังคุณธรรม สร้างวินัย จิตสาธารณะ ความรับผิดชอบ

ต่อส่วนรวม และการมีจิตอาสา ผ่านกิจกรรมรูปแบบต่าง ๆ อาทิ กิจกรรมลูกเสือ กศน. กิจกรรมจิตอาสา ตลอดจนสนับสนุนให้มีการจัดกิจกรรมเพื่อปลูกฝังคุณธรรม จริยธรรมให้กับบุคลากรในองค์กร

2) จัดให้มีหลักสูตรลูกเสือมัคคุเทศก์ โดยให้สำนักงาน กศน.จังหวัดทุกแห่ปกทม. จัดตั้งกองลูกเสือ

ที่ลูกเสือมีความพร้อมด้านทักษะภาษาต่างประเทศ เป็นลูกเสือมัคคุเทศก์จังหวัดละ 1 กอง เพื่อส่งเสริมลูกเสือจิตอาสาพัฒนาการท่องเที่ยวในแต่ละจังหวัด

3.4 เสริมสร้างความร่วมมือกับภาคีเครือข่าย ประสาน ส่งเสริมความร่วมมือภาคีเครือข่าย ทั้งภาครัฐ

เอกชน ประชาสังคม และองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น รวมทั้งส่งเสริมและสนับสนุนการมีส่วนร่วมของชุมชน

เพื่อสร้างความเข้าใจ และให้เกิดความร่วมมือในการส่งเสริม สนับสนุน และจัดการศึกษาและการเรียนรู้ให้กับ

ประชาชนอย่างมีคุณภาพ

1) เร่งจัดทำทำเนียบภูมิปัญญาท้องถิ่นในแต่ละตำบล เพื่อใช้ประโยชน์จากภูมิปัญญาท้องถิ่น

ในการสร้างการเรียนรู้จากองค์ความรู้ในตัวบุคคลให้เกิดการถ่ายทอดภูมิปัญญา สร้างคุณค่าทางวัฒนธรรมอย่างยั่งยืน

2) ส่งเสริมภูมิปัญญาท้องถิ่นสู่การจัดการเรียนรู้ชุมชน

3) ประสานความร่วมมือกับภาคีเครือข่ายเพื่อการขยายและพัฒนาการศึกษานอกระบบและ

การศึกษาตามอัธยาศัยให้เข้าถึงกลุ่มเป้าหมายทุกกลุ่มอย่างกว้างขวางและมีคุณภาพ อาทิ กลุ่มผู้สูงอายุ กลุ่ม อสม.

3.5 พัฒนานวัตกรรมทางการศึกษาเพื่อประโยชน์ต่อการจัดการศึกษาและกลุ่มเป้าหมาย

1) พัฒนาการจัดการศึกษาออนไลน์ กศน. ทั้งในรูปแบบของการศึกษาขั้นพื้นฐาน การพัฒนาทักษะ

ชีวิตและทักษะอาชีพ การศึกษาตามอัธยาศัย รวมทั้งการพัฒนาช่องทางการค้าออนไลน์

2) ส่งเสริมการใช้เทคโนโลยีในการปฏิบัติงาน การบริหารจัดการ และการจัดการเรียนรู้

3) ส่งเสริมให้มีการใช้การวิจัยอย่างง่ายเพื่อสร้างนวัตกรรมใหม่

3.6 พัฒนาศักยภาพคนด้านทักษะและความเข้าใจในการใช้เทคโนโลยีดิจิทัล (Digital Literacy)

1) พัฒนาความรู้และทักษะเทคโนโลยีดิจิทัลของครูและบุคลากรทางการศึกษา เพื่อพัฒนา

 

รูปแบบการจัดการเรียนการสอน

2) ส่งเสริมการจัดการเรียนรู้ด้านเทคโนโลยีดิจิทัล เพื่อให้ประชาชนมีทักษะความเข้าใจและ

ใช้เทคโนโลยีดิจิทัลที่สามารถนำไปใช้ประโยชน์ในชีวิตประจำวัน รวมทั้งสร้างรายได้ให้กับตนเองได้
3.7 พัฒนาทักษะภาษาต่างประเทศเพื่อการสื่อสารของประชาชนในรูปแบบต่าง ๆ
อย่างเป็นรูปธรรม โดยเน้นทักษะภาษาเพื่ออาชีพ ทั้งในภาคธุรกิจ การบริการ และการท่องเที่ยว รวมทั้ง

พัฒนาสื่อการเรียนการสอนเพื่อส่งเสริมการใช้ภาษาเพื่อการสื่อสารและการพัฒนาอาชีพ

3.8 เตรียมความพร้อมการเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุที่เหมาะสมและมีคุณภาพ

1) ส่งเสริมการจัดกิจกรรมให้กับประชาชนเพื่อสร้างความตระหนักถึงการเตรียมพร้อมเข้าสู่

สังคมผู้สูงอายุ (Aging Society) มีความเข้าใจในพัฒนาการของช่วงวัย รวมทั้งเรียนรู้และมีส่วนร่วมในการดูแล

รับผิดชอบผู้สูงอายุในครอบครัวและชุมชน

2) พัฒนาการจัดบริการการศึกษาและการเรียนรู้สำหรับประชาชนในการเตรียมความพร้อม

เข้าสู่วัยสูงอายุที่เหมาะสมและมีคุณภาพ

3) จัดการศึกษาเพื่อพัฒนาคุณภาพชีวิตสำหรับผู้สูงอายุภายใต้แนวคิด "Active Aging"

การศึกษาเพื่อพัฒนาคุณภาพชีวิต และพัฒนาทักษะชีวิต ให้สามารถดูแลตนเองทั้งสุขภาพกายและสุขภาพจิต

และรู้จักใช้ประโยชน์จากเทคโนโลยี

4) สร้างความตระหนักถึงคุณค่าและศักดิ์ศรีของผู้สูงอายุ เปิดโอกาสให้มีการเผยแพร่ภูมิปัญญา

ของผู้สูงอายุ และให้มีส่วนร่วมในกิจกรรมด้านต่าง ๆ ในชุมชน เช่น ด้านอาชีพ กีฬา ศาสนาและวัฒนธรรม

5) จัดการศึกษาอาชีพเพื่อรองรับสังคมผู้สูงอายุ โดยบูรณาการความร่วมมือกับหน่วยงาน

ที่เกี่ยวข้อง ในทุกระดับ

3.9 การส่งเสริมวิทยาศาสตร์เพื่อการศึกษา

1) จัดกิจกรรมวิทยาศาสตร์เชิงรุก และเน้นให้ความรู้วิทยาศาสตร์อย่างง่ายกับประชาชนในชุมชน

ทั้งวิทยาศาสตร์ในวิถีชีวิต และวิทยาศาสตร์ในชีวิตประจำวัน

2) พัฒนาสื่อนิทรรศการเละรูปแบบการจัดกิจกรรมทางวิทยาศาสตร์ให้มีความทันสมัย

3.10 ส่งเสริมการรู้ภาษาไทยให้กับประชาชนในรูปแบบต่าง ๆ โดยเฉพาะประชาชนในเขตพื้นที่สูง

ให้สามารถฟัง พูด อ่าน และเขียนภาษาไทย เพื่อประโยชในการใช้ชีวิตประจำวันได้

 

4 ยุทธศาสตร์ต้นการสร้างโอกาสและความเสมอภาคทางสังคม

4.1 จัดตั้งศูนย์การเรียนรู้สำหรับทุกช่วงวัย ที่เป็นศูนย์การเรียนรู้ตลอดชีวิตที่สามารถให้บริการ

ประชาชนได้ทุกคน ทุกช่วงวัย ที่มีกิจกรรมที่หลากหลาย ตอบสนองความต้องการในการเรียนรู้ในแต่ละวัย

และเป็นศูนย์บริการความรู้ ศูนย์การจัดกิจกรรมที่ครอบคลุมทุกช่วงวัย เพื่อให้มีพัฒนาการเรียนรู้ที่เหมาะสม

และมีความสุขกับการเรียนรู้ตามความสนใจ

1) เร่งประสานกับสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน เพื่อจัดทำฐานข้อมูลโรงเรียน

ที่ถูกยุบรวม หรือคาดว่าน่าจะถูกยุบรวม

2) ให้สำนักงาน กศน.จังหวัดทุกแห่งที่อยู่ในจังหวัดที่มีโรงเรียนที่ถูกยุบรวม ประสานขอใช้

พื้นที่เพื่อจัดตั้งศูนย์การเรียนรู้สำหรับทุกช่วงวัย กศน.

4.2 ส่งเสริมและสนับสนุนการจัดการศึกษาและการเรียนรู้สำหรับกลุ่มเป้าหมายผู้พิการ

1) จัดการศึกษาขั้นพื้นฐาน การศึกษาเพื่อพัฒนาทักษะชีวิตและทักษะอาชีพ และการศึกษา

ตามอัธยาศัย โดยเน้นรูปแบบการศึกษาออนไลน์

2) ให้สำนักงาน กศน.จังหวัดทุกแห่ง/กทม. ทำความร่วมมือกับศูนย์การศึกษาพิเศษประจำ

จังหวัด ในการใช้สถานที่ วัสดุอุปกรณ์ และครุภัณฑ์ด้านการศึกษา เพื่อสนับสนุนการจัดการศึกษาและการ

เรียนรู้สำหรับกลุ่มเป้าหมายผู้พิการ

4.3 ยกระดับการศึกษาให้กับกลุ่มเป้าหมายทหารกองประจำการ รวมทั้งกลุ่มเป้าหมาย

พิเศษอื่น ๆ อาทิ ผู้ต้องขัง คนพิการ เด็กออกกลางคัน ประชากรวัยเรียนที่อยู่นอกระบบการศึกษา

ให้จบการศึกษานอกระบบระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน สามารถนำความรู้ที่ได้รับไปพัฒนาตนเองได้อย่าง

ต่อเนื่อง

4.4 พัฒนาหลักสูตรการจัดการศึกษาอาชีพระะสั้น ให้มีความหลากหลาย ทันสมัย เหมาะสมกับ

บริบทของพื้นที่ และตอบสนองความต้องการของประชาชนผู้รับบริการ

 

5. ยุทธศาสตร์ด้านการสร้างการเติบโตบนคุณภาพชีวิตที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม

5.1 ส่งเสริมให้มีการให้ความรู้กับประชาชนในการรับมือและปรับตัวเพื่อลดความเสียหาย

จากภัยธรรมชาติและผลกระทบที่เกี่ยวข้องกับการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ

5.2 สร้างความตระหนักถึงความสำคัญของการสร้างสังคมสีเขียว ส่งเสริมความรู้ให้กับประชาชน

เกี่ยวกับการคัดแยกตั้งแต่ต้นทาง การกำจัดขยะ และการนำกลับมาใช้ช้ำ เพื่อลดปริมาณและต้นทุนในการ

จัดการขยะของเมือง และสามารถนำขยะกลับมาใช้ประโยชน์ได้โดยง่าย รวมทั้งการจัดการมลพิษในชุมชน

5.3 ส่งเสริมให้หน่วยงานและสถานศึกษาใช้พลังงานที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม รวมทั้งลดการใช้

ทรัพยากรที่ส่งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม เช่น รณรงค์เรื่องการลดการใช้ถุงพลาสติก การประหยัดไฟฟ้า เป็นต้น

 

6. ยุทธศาสตร์ด้านการปรับสมดุลและพัฒนาระบบหารบริหารจัดการภาครัฐ

6.1 พัฒนาและปรับระบบวิธีการปฏิบัติราชการให้ทันสมัย มีความโปร่งใส ปลอดการทุจริตและ

ประพฤติมิชอบ บริหารจัดการบนข้อมูลและหลักฐานเชิงประจักษ์ มุ่งผลสัมฤทธิ์มีความโปร่งใส

6.2 นำนวัตกรรมและเทคโนโลยีระบบการทำงานที่เป็นดิจิทัลมาใช้ในการบริหารและพัฒนางาน

สามารถเชื่อมโยงกับระบบฐานข้อมูลกลางของกระทรวงศึกษาธิการ พร้อมทั้งพัฒนาโปรแกรมออนไลน์ที่

สามารถเชื่อมโยงข้อมูลต่าง ๆ ที่ทำให้การบริหารจัดการเป็นไปอย่างต่อเนื่องกันตั้งแต่ต้นจนจบกระบวนการ

และให้ประชาชนกลุ่มเป้าหมายสามารถเข้าถึงบริการได้อย่างทันที ทุกที่และทุกเวลา

6.3 ส่งเสริมการพัฒนาบุคลากรทุกระดับอย่างต่อเนื่อง ให้มีความรู้และทักษะตามมาตรฐาน

ตำแหน่ง ให้ตรงกับสายงาน ความชำนาญ และความต้องการของบุคลากร

 

ภารกิจต่อเนื่อง

๑. ด้านการจัดการศึกษาและการเรียนรู้ 

          ๑.๑ การศึกษานอกระบบระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน  

               ๑) สนับสนุนการจัดการศึกษานอกระบบตั้งแต่ปฐมวัยจนจบการศึกษาขั้นพื้นฐาน โดยดำเนินการ ให้ผู้เรียนได้รับการสนับสนุนค่าจัดซื้อหนังสือเรียน ค่าจัดกิจกรรมพัฒนาคุณภาพผู้เรียน และค่าจัดการเรียน การสอนอย่างทั่วถึงและเพียงพอ เพื่อเพิ่มโอกาสในการเข้าถึงบริการทางการศึกษาที่มีคุณภาพโดยไม่เสียค่าใช้จ่าย  

               ๒) จัดการศึกษานอกระบบระดับการศึกษาขั้นพื้นฐานให้กับกลุ่มเป้าหมายผู้ด้อย พลาด และขาดโอกาส ทางการศึกษา ทั้งระบบการให้บริการ ระบบการเรียนการสอน ระบบการวัดและประเมินผลการเรียน ผ่านการเรียน แบบเรียนรู้ด้วยตนเอง การพบกลุ่ม การเรียนแบบชั้นเรียน และการจัดการศึกษาทางไกล  

               ๓) จัดให้มีการประเมินเพื่อเทียบระดับการศึกษา และการเทียบโอนความรู้และประสบการณ์ ที่มีความโปร่งใส ยุติธรรม ตรวจสอบได้ มีมาตรฐานตามที่กำหนด และสามารถตอบสนองความต้องการ ของกลุ่มเป้าหมายได้อย่างมีประสิทธิภาพ  

               ๔) จัดให้มีกิจกรรมพัฒนาคุณภาพผู้เรียนที่มีคุณภาพที่ผู้เรียนต้องเรียนรู้และเข้าร่วมปฏิบัติ กิจกรรม เพื่อเป็นส่วนหนึ่งของการจบหลักสูตร อาทิ กิจกรรมเสริมสร้างความสามัคคี กิจกรรมเกี่ยวกับ การป้องกันและแก้ไขปัญหายาเสพติด การบำเพ็ญสาธารณประโยชน์อย่างต่อเนื่อง การส่งเสริมการปกครอง ในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข กิจกรรมลูกเสือ เนตรนารี และยุวกาชาด กิจกรรม จิตอาสา และการจัดตั้งชมรม/ชุมนุม พร้อมทั้งเปิดโอกาสให้ผู้เรียนนำกิจกรรมการบำเพ็ญประโยชน์อื่น ๆ  นอกหลักสูตร มาใช้เพิ่มชั่วโมงกิจกรรมให้ผู้เรียนจบตามหลักสูตรได้ 

           ๑.๒ การส่งเสริมการรู้หนังสือ  

               ๑) พัฒนาระบบฐานข้อมูลผู้ไม่รู้หนังสือ ให้มีความครบถ้วน ถูกต้อง ทันสมัยและเป็นระบบเดียวกัน ทั้งส่วนกลางและส่วนภูมิภาค  

               ๒) พัฒนาหลักสูตร สื่อ แบบเรียน เครื่องมือวัดผลและเครื่องมือการดำเนินงานการส่งเสริม การรู้หนังสือที่สอดคล้องกับสภาพแต่ละกลุ่มเป้าหมาย   

               ๓) พัฒนาครู กศน. และภาคีเครือข่ายที่ร่วมจัดการศึกษา ให้มีความรู้ ความสามารถ และทักษะ การจัดกระบวนการเรียนรู้ให้กับผู้ไม่รู้หนังสืออย่างมีประสิทธิภาพ และอาจจัดให้มีอาสาสมัครส่งเสริมการรู้ หนังสือในพื้นที่ที่มีความต้องการจำเป็นเป็นพิเศษ  

               ๔) ส่งเสริม สนับสนุนให้สถานศึกษาจัดกิจกรรมส่งเสริมการรู้หนังสือ การคงสภาพการรู้หนังสือ การพัฒนาทักษะการรู้หนังสือให้กับประชาชนเพื่อเป็นเครื่องมือในการศึกษาและเรียนรู้อย่างต่อเนื่องตลอดชีวิต ของประชาชน 

           ๑.๓ การศึกษาต่อเนื่อง  

               ๑) จัดการศึกษาอาชีพเพื่อการมีงานทำอย่างยั่งยืน โดยให้ความสำคัญกับการจัดการศึกษาอาชีพ เพื่อการมีงานทำในกลุ่มอาชีพเกษตรกรรม อุตสาหกรรม พาณิชยกรรม คหกรรม และอาชีพเฉพาะทาง หรือการบริการ รวมถึงการเน้นอาชีพช่างพื้นฐาน ที่สอดคล้องกับศักยภาพของผู้เรียน ความต้องการและศักยภาพของแต่ละพื้นที่ ตลอดจนสร้างความเข้มแข็งให้กับศูนย์ฝึกอาชีพชุมชน โดยจัดให้มีหนึ่งอาชีพเด่นต่อ หนึ่งศูนย์ฝึกอาชีพ รวมทั้งให้มีการกำกับ ติดตาม และรายงานผลการจัดการศึกษาอาชีพเพื่อการมีงานทำอย่าง เป็นระบบและต่อเนื่อง  

               ๒) จัดการศึกษาเพื่อพัฒนาทักษะชีวิตให้กับทุกกลุ่มเป้าหมาย โดยเฉพาะคนพิการ ผู้สูงอายุ ที่สอดคล้องกับความต้องการจำเป็นของแต่ละบุคคล และมุ่งเน้นให้ทุกกลุ่มเป้าหมายมีทักษะการดำรงชีวิต ตลอดจนสามารถประกอบอาชีพพึ่งพาตนเองได้ มีความรู้ความสามารถในการบริหารจัดการชีวิตของตนเอง ให้อยู่ในสังคมได้อย่างมีความสุข สามารถเผชิญสถานการณ์ต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นในชีวิตประจำวันได้อย่างมี ประสิทธิภาพ และเตรียมพร้อมสำหรับการปรับตัวให้ทันต่อการเปลี่ยนแปลงของข่าวสารข้อมูลและเทคโนโลยี สมัยใหม่ในอนาคต โดยจัดกิจกรรมที่มีเนื้อหาสำคัญต่างๆ เช่น สุขภาพกายและจิต การป้องกันภัยยาเสพติด เพศศึกษา คุณธรรมและค่านิยมที่พึงประสงค์ ความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สิน ผ่านการศึกษารูปแบบต่าง ๆ อาทิ ค่ายพัฒนาทักษะชีวิต การจัดตั้งชมรม/ชุมนุม การส่งเสริมความสามารถพิเศษต่าง ๆ   

               ๓) จัดการศึกษาเพื่อพัฒนาสังคมและชุมชน โดยใช้หลักสูตรและการจัดกระบวนการเรียนรู้ แบบบูรณาการในรูปแบบของการฝึกอบรม การประชุม สัมมนา การจัดเวทีแลกเปลี่ยนเรียนรู้ การจัดกิจกรรม จิตอาสา การสร้างชุมชนนักปฏิบัติ และรูปแบบอื่นๆ ที่เหมาะสมกับกลุ่มเป้าหมาย และบริบทของชุมชน แต่ละพื้นที่ เคารพความคิดของผู้อื่น ยอมรับความแตกต่างและหลากหลายทางความคิดและอุดมการณ์ รวมทั้ง สังคมพหุวัฒนธรรม โดยจัดกระบวนการให้บุคคลรวมกลุ่มเพื่อแลกเปลี่ยนเรียนรู้ร่วมกัน สร้างกระบวนการจิต สาธารณะ การสร้างจิตสำนึกความเป็นประชาธิปไตย การเคารพในสิทธิ และรับผิดชอบต่อหน้าที่ความเป็น พลเมืองดี การส่งเสริมคุณธรรม จริยธรรม การบำเพ็ญประโยชน์ในชุมชน การบริหารจัดการด้านการรับมือกับสาธารณภัย การอนุรักษ์พลังงานทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ช่วยเหลือซึ่งกันและกันในการพัฒนาสังคม และชุมชนอย่างยั่งยืน  

               ๔) การจัดกิจกรรมการเรียนรู้ตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงผ่านกระบวนการเรียนรู้ตลอดชีวิต ในรูปแบบต่างๆ ให้กับประชาชน เพื่อเสริมสร้างภูมิคุ้มกัน สามารถยืนหยัดอยู่ได้อย่างมั่นคง และมีการบริหาร จัดการความเสี่ยงอย่างเหมาะสม ตามทิศทางการพัฒนาประเทศสู่ความสมดุลและยั่งยืน 

           ๑.๔ การศึกษาตามอัธยาศัย  

               ๑) ส่งเสริมให้มีการพัฒนาแหล่งการเรียนรู้ในระดับตำบล เพื่อการถ่ายทอดองค์ความรู้ และจัดกิจกรรม เพื่อเผยแพร่องค์ความรู้ในชุมชนได้อย่างทั่วถึง  

               ๒) จัดกิจกรรมส่งเสริมการเรียนรู้เพื่อปลูกฝังนิสัยรักการอ่าน และพัฒนาความสามารถในการอ่าน และศักยภาพการเรียนรู้ของประชาชนทุกกลุ่มเป้าหมาย  

               ๓) ส่งเสริมให้มีการสร้างบรรยากาศ และสิ่งแวดล้อมที่เอื้อต่อการอ่านให้เกิดขึ้นในสังคมไทย  โดยสนับสนุนการพัฒนาแหล่งการเรียนรู้ให้เกิดขึ้นอย่างกว้างขวางและทั่วถึง เช่น พัฒนาห้องสมุดประชาชน ทุกแห่งให้เป็นแหล่งเรียนรู้ตลอดชีวิตของชุมชน ส่งเสริมและสนับสนุนอาสาสมัครส่งเสริมการอ่าน การสร้างเครือข่าย ส่งเสริมการอ่าน จัดหน่วยบริการเคลื่อนที่พร้อมอุปกรณ์เพื่อจัดกิจกรรมส่งเสริมการอ่านและการเรียนรู้ที่หลากหลาย ให้บริการกับประชาชนในพื้นที่ต่างๆ อย่างทั่วถึง สม่ำเสมอ รวมทั้งเสริมสร้างความพร้อมในด้านสื่ออุปกรณ์ เพื่อสนับสนุนการอ่าน และการจัดกิจกรรมเพื่อส่งเสริมการอ่านอย่างหลากหลาย

                ๔) จัดสร้างและพัฒนาศูนย์วิทยาศาสตร์เพื่อการศึกษา ให้เป็นแหล่งเรียนรู้วิทยาศาสตร์ตลอดชีวิต ของประชาชน และเป็นแหล่งท่องเที่ยวประจำท้องถิ่น โดยจัดทำและพัฒนานิทรรศการ สื่อและกิจกรรม การศึกษาที่เน้นการเสริมสร้างความรู้และสร้างแรงบันดาลใจ สอดแทรกวิธีการคิดและปลูกฝังเจตคติ ทางวิทยาศาสตร์ ผ่านการฝึกทักษะกระบวนการที่บูรณาการความรู้ด้านวิทยาศาสตร์ ควบคู่กับเทคโนโลยี วิศวกรรมศาสตร์ และคณิตศาสตร์ รวมทั้งสอดคล้องกับหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง บริบทของของชุมชน และประเทศ รวมทั้งการเปลี่ยนแปลงระดับภูมิภาคและระดับโลก เพื่อให้ประชาชนมีความรู้และความสามารถ ในการคิดเชิงวิเคราะห์ มีทักษะที่จำเป็นในโลกศตวรรษที่ ๒๑ มีความสามารถในการปรับตัวรองรับผลกระทบ จากการเปลี่ยนแปลงในอนาคตได้อย่างมีประสิทธิภาพ และสามารถนำความรู้และทักษะไปประยุกต์ใช้ในการ ดำเนินชีวิต การพัฒนาอาชีพ การรักษาสิ่งแวดล้อม การบรรเทาและป้องกันภัยพิบัติทางธรรมชาติ 

               ๑.๕  พัฒนา กศน. ตำบล สู่ “กศน.ตำบล 4G”  

                   ๑) พัฒนาครู กศน. และบุคลากรที่เกี่ยวข้องกับการจัดกิจกรรมการศึกษาและการเรียนรู้ : Good Teacher ให้เป็นตัวกลางในการเชื่อมโยงความรู้กับผู้รับบริการ มีความเป็น “ครูมืออาชีพ” มีจิตบริการ มีความ รอบรู้และทันต่อการเปลี่ยนแปลงของสังคม เป็นผู้จัดกิจกรรมการเรียนรู้และบริหารจัดการความรู้ที่ดี รวมทั้ง เป็นผู้ปฏิบัติงานอย่างมีความสุข  

                   ๒) พัฒนา กศน.ตำบล ให้มีบรรยากาศและสภาพแวดล้อมเอื้อต่อการเรียนรู้อย่างต่อเนื่อง : Good Place Best Check-In มีความพร้อมในการให้บริการกิจกรรมการศึกษาและการเรียนรู้ เป็นแหล่งข้อมูลสาธารณะที่ ง่ายต่อการเข้าถึง และสะดวกต่อการเรียนรู้ตลอดชีวิตอย่างสร้างสรรค์ มีสิ่งอำนวยความสะดวก ดึงดูดความสนใจ และมีความปลอดภัยสำหรับผู้รับบริการ  

                   ๓) ส่งเสริมการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ภายใน กศน.ตำบล : Good Activities ให้มีความหลากหลาย น่าสนใจ ตอบสนองความต้องการของชุมชน เพื่อพัฒนาศักยภาพการเรียนรู้ของประชาชน รวมทั้งเปิดโอกาส ให้ชุมชนเข้ามาจัดกิจกรรมเพื่อเชื่อมโยงความสัมพันธ์ของคนในชุมชน   ๔) เสริมสร้างความร่วมมือกับภาคีเครือข่าย : Good Partnership ทั้งภาครัฐ ภาคเอกชน และ องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น รวมทั้งส่งเสริมและสนับสนุนการมีส่วนร่วมของชุมชน เพื่อสร้างความเข้าใจ และให้ เกิดความร่วมมือในการส่งเสริม สนับสนุน และจัดการศึกษาและการเรียนรู้ให้กับประชาชนอย่างมีคุณภาพ 

               ๑.๖ ประสานความร่วมมือหน่วยงาน องค์กร หรือภาคส่วนต่างๆ ที่มีแหล่งเรียนรู้อื่นๆ เช่น พิพิธภัณฑ์ ศูนย์เรียนรู้ แหล่งโบราณคดี ห้องสมุด เพื่อส่งเสริมการจัดการศึกษาตามอัธยาศัยให้มีรูปแบบที่หลากหลาย  และตอบสนองความต้องการของประชาชน  




เข้าชม : 474
 
 
ศูนย์ส่งเสริมการเรียนรู้ระดับอำเภอแกลง  จังหวัดระยอง
164 ถนนสุนทรโวหาร ตำบลทางเกวียน  อำเภอแกลง  จังหวัดระยอง โทรศัพท์ 0-3867-2696

โทรสาร  0-3867-4696  Klangrayong02@gmail.com  
Powered by MAXSITE 1.10   Modify by   นิกร เกษโกมล   Version 2.05HD  Update by   นายบุญมา มาดี