ยุทธศาสตร์และจุดเน้นการดำเนินงาน สำนักงาน กศน. ปีงบประมาณ 2563
ปรัชญา
ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง และ ปรัชญาคิดเป็น
วิสัยทัศน์
คนไทยได้รับโอกาสการศึกษาและการเรียนรู้ตลอดชีวิตอย่างมีคุณภาพ สามารถดำรงชีวิตที่เหมาะสมกับช่วงวัย สอดคล้องกับหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง และมีทักษะที่จำเป็นในโลกศตวรรษที่ 21
พันธกิจ
1. จัดและส่งเสริมการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยที่มีคุณภาพ เพื่อยกระดับการศึกษาพัฒนาทักษะการเรียนรู้ของประชาชนทุกกลุ่มเป้าหมายให้เหมาะสมทุกช่วงวัย พร้อมรับการเปลี่ยนแปลงบริบททางสังคม และสร้างสังคมแห่งการเรียนรู้ตลอดชีวิต
2. ส่งเสริม สนับสนุน และประสานภาคีเครือข่าย ในการมีส่วนร่วมจัดการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย และการเรียนรู้ตลอดชีวิต รวมทั้งการดำเนินกิจกรรมของศูนย์การเรียนและแหล่งการเรียนรู้อื่นในรูปแบบต่างๆ
3. ส่งเสริมและพัฒนาการนำเทคโนโลยีทางการศึกษา และเทคโนโลยีดิจิทัลมาใช้ให้เกิดประสิทธิภาพในการจัดการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยให้กับประชาชนอย่างทั่วถึง
4. พัฒนาหลักสูตร รูปแบบการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ สื่อและนวัตกรรม การวัดและประเมินผล ในทุกรูปแบบให้สอดคล้องกับบริบทในปัจจุบัน
5. พัฒนาบุคลากรและระบบการบริหารจัดการให้มีประสิทธิภาพ เพื่อมุ่งจัดการศึกษาและการเรียนรู้ที่มีคุณภาพ โดยยึดหลักธรรมาภิบาล
เป้าประสงค์
1. ประชาชนผู้ด้อย พลาด และขาดโอกาสทางการศึกษา รวมทั้งประชาชนทั่วไปได้รับโอกาสทางการศึกษาในรูปแบบการศึกษานอกระบบระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน การศึกษาต่อเนื่อง และการศึกษาตามอัธยาศัย ที่มีคุณภาพอย่างเท่าเทียมและทั่วถึง เป็นไปตามสภาพ ปัญหา และความต้องการของแต่ละกลุ่มเป้าหมาย
2. ประชาชนได้รับการยกระดับการศึกษา สร้างเสริมและปลูกฝังคุณธรรม จริยธรรม และความเป็นพลเมือง อันนำไปสู่การยกระดับคุณภาพชีวิตและเสริมสร้างความเข้มแข็งให้ชุมชน เพื่อพัฒนาไปสู่ความมั่นคงและยั่งยืนทางด้านเศรษฐกิจ สังคม วัฒนธรรม ประวัติศาสตร์ และสิ่งแวดล้อม
3. ประชาชนได้รับโอกาสในการเรียนรู้ และมีเจตคติทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีที่เหมาะสม สามารถคิด วิเคราะห์ และประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวัน รวมทั้งแก้ปัญหาและพัฒนาคุณภาพชีวิตได้อย่างสร้างสรรค์
4. ประชาชนได้รับการสร้างและส่งเสริมให้มีนิสัยรักการอ่านเพื่อการแสวงหาความรู้ด้วยตนเอง
5. ชุมชนและภาคีเครือข่ายทุกภาคส่วน ร่วมจัด ส่งเสริม และสนับสนุนการดำเนินงานการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย รวมทั้งการขับเคลื่อนกิจกรรมการเรียนรู้ของชุมชน
6. หน่วยงานและสถานศึกษาพัฒนา เทคโนโลยีทางการศึกษา เทคโนโลยีดิจิทัล มาใช้ในการยกระดับคุณภาพในการจัดการเรียนรู้และเพิ่มโอกาสการเรียนรู้ให้กับประชาชน
7. หน่วยงานและสถานศึกษาพัฒนาสื่อและการจัดกระบวนการเรียนรู้ เพื่อแก้ปัญหาและพัฒนาคุณภาพชีวิต ที่ตอบสนองกับการเปลี่ยนแปลงบริบทด้านเศรษฐกิจ สังคม การเมือง วัฒนธรรม ประวัติศาสตร์และสิ่งแวดล้อม รวมทั้งตามความต้องการของประชาชนและชุมชนในรูปแบบที่หลากหลาย
8. หน่วยงานและสถานศึกษามีระบบการบริหารจัดการที่เป็นไปตามหลักธรรมาภิบาล
9.บุคลากรของหน่วยงานและสถานศึกษาได้รับการพัฒนาเพื่อเพิ่มสมรรถนะในการปฏิบัติงานการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยอย่างมีประสิทธิภาพ
ตัวชี้วัด
ตัวชี้วัดเชิงปริมาณ
1. จำนวนผู้เรียนการศึกษานอกระบบระดับการศึกษาขั้นพื้นฐานที่ได้รับการสนับสนุนค่าใช้จ่ายตามสิทธิที่กำหนดไว้
2. จำนวนของคนไทยกลุ่มเป้าหมายต่างๆ ที่เข้าร่วมกิจกรรมการเรียนรู้/ได้รับบริการกิจกรรมการศึกษาต่อเนื่อง และการศึกษาตามอัธยาศัยที่สอดคล้องกับสภาพ ปัญหา และความต้องการ
3. ร้อยละของกำลังแรงงานที่สำเร็จการศึกษาระดับมัธยมศึกษาตอนต้นขึ้นไป
4. จำนวนภาคีเครือข่ายที่เข้ามามีส่วนร่วมในการจัด/พัฒนา/ส่งเสริมการศึกษา (ภาคีเครือข่าย : สถานประกอบการ องค์กร หน่วยงานที่มาร่วมจัด/พัฒนา/ส่งเสริมการศึกษา)
5. จำนวนประชาชน เด็ก และเยาวชนในพื้นที่สูง และชาวไทยมอแกน ในพื้นที่ 5 จังหวัด 11 อำเภอได้รับบริการการศึกษาตลอดชีวิตจาก ศศช. สังกัดสำนักงาน กศน.
6. จำนวนผู้รับบริการในพื้นที่เป้าหมายได้รับการส่งเสริมด้านการรู้หนังสือและการพัฒนาทักษะชีวิต
7. จำนวนนักเรียน/นักศึกษาที่ได้รับบริการติวเข้มเต็มความรู้
8. จำนวนประชาชนกลุ่มเป้าหมายที่เข้ารับการฝึกอาชีพ เห็นช่องทางในการประกอบอาชีพ
9. จำนวนครู กศน. ต้นแบบการสอนภาษาอังกฤษเพื่อการสื่อสารสามารถเป็นวิทยากรแกนนำได้
10. จำนวนประชาชนที่ได้รับการฝึกอบรมภาษาอังกฤษเพื่อการสื่อสารด้านอาชีพ
11. จำนวนผู้สูงอายุภาวะพึ่งพิงในระบบ Long Term Care มีผู้ดูแลที่มีคุณภาพและมาตรฐาน
12. จำนวนกลุ่มเป้าหมายได้รับการพัฒนาศักยภาพเป็นวิทยากรแกนนำ กศน. ในเรื่องเศรษฐกิจดิจิทัล และสามารถขยายผลเชิงพื้นที่ “ศูนย์ดิจิทัลชุมชน” ได้จนเกิดเป็นรูปธรรม
13. จำนวนประชาชนในพื้นที่ที่สามารถนำความรู้เกี่ยวกับเศรษฐกิจและการใช้เครื่องมือดิจิทัลต่างๆ ไปประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวัน
14. จำนวนเกษตรกรที่ผ่านการอบรมเป็น Master Trainer
ตัวชี้วัดเชิงคุณภาพ
1. ร้อยละของคะแนนเฉลี่ยผลการทดสอบทางการศึกษาระดับชาติ การศึกษานอกระบบ (N-NET)ทุกรายวิชาทุกระดับ
2. ร้อยละของผู้เรียนที่ได้รับการสนับสนุนการจัดการศึกษาขั้นพื้นฐานเทียบกับค่าเป้าหมาย
3. ร้อยละของประชาชนกลุ่มเป้าหมายที่ลงทะเบียนเรียนในทุกหลักสูตร/กิจกรรมการศึกษาต่อเนื่องเทียบกับเป้าหมาย
4. ร้อยละของผู้ผ่านการฝึกอบรม/พัฒนาทักษะอาชีพระยะสั้นสามารถนำความรู้ไปใช้ในการประกอบอาชีพหรือพัฒนางานได้
5. ร้อยละของผู้เรียนในเขตพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ที่ได้รับการพัฒนาศักยภาพ หรือทักษะด้านอาชีพ สามารถมีงานทำหรือนำไปประกอบอาชีพได้
6. ร้อยละของผู้จบหลักสูตร/กิจกรรมที่สามารถนำความรู้ความเข้าใจไปใช้ได้ตามจุดมุ่งหมายของหลักสูตร/กิจกรรม การศึกษาต่อเนื่อง
7. ร้อยละของประชาชนที่ได้รับบริการมีความพึงพอใจต่อการบริการ/เข้าร่วมกิจกรรมการเรียนรู้การศึกษาตามอัธยาศัย
8. ร้อยละของประชาชนกลุ่มเป้าหมายที่ได้รับบริการ/เข้าร่วมกิจกรรมที่มีความรู้ความเข้าใจ/เจตคติ/ทักษะ ตามจุดมุ่งหมายของกิจกรรมที่กำหนด ของการศึกษาตามอัธยาศัย
9. ร้อยละของผู้เข้าร่วมกิจกรรมที่สามารถอ่านออกเขียนได้และคิดเลขเป็นตามจุดมุ่งหมายของกิจกรรม
10. ร้อยละของนักเรียน/นักศึกษาที่มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนในวิชาที่ได้รับบริการติวเข้มเต็มความรู้เพิ่มสูงขึ้น
เป้าประสงค์และตัวชี้วัดความสำเร็จ
เป้าประสงค์
|
ตัวชี้วัดความสำเร็จ
|
1. ประชาชนในอำเภอเขาชะเมา ได้รับโอกาสทางการศึกษาตลอดชีวิตอย่างทั่วถึงและเท่าเทียมกัน
|
1. ร้อยละ 80 ของผู้เรียน/ผู้รับบริการมีผลสัมฤทธิ์ตามจุดมุ่งหมายการเรียนรู้ของแต่ละหลักสูตร หรือกิจกรรมการเรียนรู้ และมีคุณลักษณะอันพึงประสงค์เพื่อนำไปสู่ความเป็นพลเมืองดีในระบบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข
2. ร้อยละ 80 ของผู้เรียน/ผู้รับการม ผ่านเกณฑ์การประเมินตามหลักสูตร/กิจกรรม
3. ร้อยละ 80 ของผู้เรียน/ผู้รับบริการมีความพึงพอใจในการให้บริการของสถานศึกษาในระดับดีถึงดีมาก
|
2. ประชาชนได้รับการส่งเสริมการศึกษาด้านอาชีพเพื่อการมีงานทำ มีอาชีพที่สามารถเสริมสร้างรายได้ สอดคล้องกับตนเอง ชุมชนและสังคม
|
1. ร้อยละ 80 ของผู้เรียน/ผู้รับการฝึกอบรม ผ่านเกณฑ์การประเมินตามหลักสูตร
2. ร้อยละ 80 ของผู้เรียน/ผู้รับบริการสามารถนำความรู้ไปใช้ในการประกอบอาชีพ หรือสร้างรายได้
3. ร้อยละ 80 ของผู้เรียน/ผู้รับบริการมีความพึงพอใจในระดับดีถึงดีมาก
|
3. ประชาชนได้รับการส่งเสริมทักษะในการดำเนินชีวิต มีความเป็นพลเมืองที่ดี ดำเนินชีวิตตามหลักของปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง
|
1. ร้อยละ 80 ของผู้เรียน/ผู้รับการฝึกอบรม ผ่านเกณฑ์การประเมินตามหลักสูตร
2. ร้อยละ 80 ของผู้เรียน/ผู้รับบริการสามารถนำความรู้ไปปรับใช้ในการดำเนินชีวิตประจำวันได้
3. ร้อยละ 80 ของผู้เรียน/ผู้รับบริการมีความพึงพอใจในระดับดีถึงดีมาก
|
4. ประชาชนใฝ่รู้ สามารถเรียนรู้ได้ด้วยตนเอง รักการอ่าน และแสวงหาความรู้อย่างต่อเนื่อง
|
1. ร้อยละ 80 ของผู้เรียน/ผู้รับบริการสามารถแสวงหาความรู้ด้วยการสืบค้นข้อมูลจากแหล่งเรียนรู้
2. ร้อยละ 80 ของผู้เรียน/ผู้รับบริการสามารถสืบค้นข้อมูลจาก Internet ห้องสมุด และแหล่งเรียนรู้ได้
3. ร้อยละ 80 ของผู้เรียน/ผู้รับบริการมีความพึงพอใจต่อการให้บริการเทคโนโลยีสารสนเทศ และเทคโนโลยีเพื่อการศึกษาในระดับดีถึงดีมาก
|
5. ภาคีเครือข่ายเข้ามามีส่วนร่วมในการจัดการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย
|
1. ร้อยละ 80 ของภาคีเครือข่ายมีส่วนร่วมในการจัดการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย
2. ร้อยละ 80 ของชุมชนมีแหล่งเรียนรู้ที่พร้อมในการจัดและสนับสนุการจัดการศึกษานอกระบบและการศึกษา ตามอัธยาศัย
|
6. ครูและบุคลากรได้รับการพัฒนาประสิทธิภาพอย่างต่อเนื่อง
|
ร้อยละ 80 ของครูและบุคลากรของสถานศึกษาได้รับการพัฒนาความรู้ ความสามารถเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการปฏิบัติงาน
|
กลยุทธ์
กลยุทธ์ที่ 1 พัฒนาคุณภาพผู้เรียน/ผู้รับบริการ
กลยุทธ์ที่ 2 ส่งเสริมและพัฒนาอาชีพให้ประชาชนในการสร้างอาชีพสร้างรายได้
กลยุทธ์ที่ 3 พัฒนาระบบบริหารจัดการเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการในการปฏิบัติงาน
กลยุทธ์ที่ 4 พัฒนาคุณภาพและมาตรฐานสถานศึกษา
กลยุทธ์ที่ 5 ขยายและพัฒนาแหล่งเรียนรู้
กลยุทธ์ที่ 6 ผนึกกำลังภาคีเครือข่าย
เข้าชม : 391 |